รักษาจิตใจ ด้วยสติและหลักธรรม


รักษาจิตใจ ด้วยสติและหลักธรรม

พุทธศาสนสุภาษิตบทหนึ่งจากพระไตรปิฎกกล่าวว่า


" อุกฺกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ มนฺตีสุ อกุตูหลํ
ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ

เมื่อเกิดเหตุร้ายแรง ย่อมต้องการคนกล้าหาญ
เมื่อเกิดข่าวตื่นเต้น ย่อมต้องการคนหนักแน่น
เมื่อมีข้าวน้ำบริบูรณ์ ย่อมต้องการคนที่รัก
เมื่อเกิดเรื่องราวลึกซึ้ง ย่อมต้องการบัณฑิต"

 


     
     ปัจจุบันการสื่อสารมวลชนมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก แม้แต่ผู้ที่อยู่ในถิ่นที่ห่างไกลก็สามารถ
รับข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ได้ตามขีดความสามารถ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับไปมี
ความถูกต้อง แม่นยำ เที่ยงตรงมากน้อยเพียงใด ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตสื่อว่ามีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
หรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราทุกคนต้องพึงตระหนักในการรับข้อมูลต่างๆ คือ เราต้องรับอย่างมีสติ 
ใช้การไตร่ตรองถึงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ตามหลักกาลมสูตรที่ว่า อย่าเชื่อตามที่ฟังต่อๆ กันมา อย่าเชื่อ
ตามที่ทำต่อๆ กันมา อย่าเชื่อตามคำเล่าลือ อย่าเชื่อโดยอ้างตำรา อย่าเชื่อโดยนึกเดา อย่าเชื่อโดย
คาดคะเนเอา อย่าเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล อย่าเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้ อย่าเชื่อเพราะ
ผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

...ในโลกนี้ มีความป่วยอยู่สองชนิด หนึ่ง ป่วยกาย (กายิกโรค) สอง ป่วยใจ (เจตสิกโรค) 
ป่วยกาย คือ ป่วยไข้ เช่น ปวดหัวตัวร้อน เป็นหวัด กระเพาะอักเสบ หิว กระหาย ฯลฯ
ป่วยใจ คือ ป่วยเพราะถูกโรคกิเลสรุมเร้า เช่น โลภมากไม่รู้จักพอ โกรธจัดจนควบคุมตัวเองไม่อยู่ 
หลงมากจนแยกถูกผิดดีชั่วไม่ออก
ป่วยใจ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ คนที่ป่วยเพราะยังมีกิเลสเจือปนอยู่ในใจ
    ในโลกนี้มีคนสักกี่คนที่เห็นเงินและทองแล้วจะไม่ตาโตคนจำนวนมากพากันทุ่มอุทิศชีวิตทั้งชีวิตเพื่อ
หาเงินหาทอง บางคนมีเงินมหาศาลหลายหมื่นหลานแสนล้านบาท/ดอลลาร์ แต่ถึงกระนั้นก็ยังสะกดคำว่า
“พอ” ไม่เป็น... (ว.วชิรเมธี ๒๕๔๙: ๓๖)

 

      คนไทยในสังคมส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนนับถือศาสนาพุทธ แต่จะมีสักกี่คนที่ศึกษาหลักธรรมคำสอนและนำมา
ใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง หลักธรรมที่สามารถนำมาปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เช่น

ฆราวาสธรรม ๔: ฆราวาสธรรม ๔ คือ ธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไป ได้แก่
๑. (สัจจะ) พูดจริง ทำจริง และซื่อตรง
๒. (ทมะ) ฝึกหัด แก้ไข ปรับปรุง
๓. (ขันติ) อดทน ตั้งใจ และขยัน
๔. (จาคะ) เสียสละ

โอวาทปาติโมกข์: โอวาทปาติโมกข์ คือ ข้อธรรมอันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ได้แก่
๑. ไม่ทำความชั่วทั้งปวง
๒. ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส

หากเราสามารถปฏิบัติได้ตามหลักธรรมข้างต้นก็จะทำให้จิตใจเรามีแต่ความผ่องใส สงบ และไม่มีการเบียดเบียน
ซึ่งกันและกัน เมื่อไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันสังคมของเราก็จะมีแต่ความสุข

อ้างอิง   ว.วชิรเมธี  ๒๕๔๙ ธรรมะชาล้นถ้วย กรุงเทพฯ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)



01121 โดย ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ 2011-10-06 14:25:12 v : 8244



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา