การพัฒนาชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา


ชื่อเรื่อง       การพัฒนาชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทาง    
                สะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้รายงาน    นายชำนาญ ชวดชูโต ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ 

                โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา

ปีการศึกษา  2560

บทคัดย่อ

 

                การพัฒนาชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตาม         แนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนชุมชนป้อมเพชร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา                  สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 นักเรียน        ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 48 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling unit) โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ 1)  เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อ         การเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2)  เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยการใช้ชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผลการศึกษาพบว่า

ผลจากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้าง

หุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดเนื้อหาเป็นสำคัญและพยายามจัดกิจกรรมการเรียนรู้          ให้จบเนื้อหา ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนจำสูตร หลักการ และวิธีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ส่วนการสอนที่ใช้สื่อหรืออุปกรณ์แทนการหาคำตอบจากรูปธรรมแบบง่าย ๆ ไปสู่การคิดแบบนามธรรมที่ยากขึ้น เป็นการเรียน ที่ทำให้นักเรียนมีความสุขและอยากเรียน ปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย ปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เป็นปัญหาของครู โดยภาพรวมมีปัญหามาก ได้แก่ ครูขาดนวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และครูขาดการพัฒนาเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใหม่ ๆ และปัญหาที่เกิดจากนักเรียน โดยภาพรวมมีปัญหาในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนมีความรู้พื้นฐานทางการเขียนโปรแกรมต่ำ นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย และนักเรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์       คิดแก้ปัญหา สรุปความคิดอย่างเป็นระบบ และคิดแบบองค์รวม ความต้องการของครูผู้สอนใน      การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยครูต้องการพัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย ต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในหัวข้อใหม่ ๆ อย่างหลากหลาย โดยเน้นให้สามารถนำไปใช้ได้จริง และต้องการสื่อ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนเป็นรูปธรรม เหมาะสมและเพียงพอ โดยมีข้อแนะนำให้ครูใช้นวัตกรรมการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ทั้งสื่อและเทคนิคประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้นักเรียนสนใจ สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ครูสามารถเลือกใช้สื่อให้เหมาะกับวิชา เลือกใช้สื่อที่หาง่ายในท้องถิ่น และปัญหาในการเรียน        วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ได้แก่ ครูสอนจริงจัง ไม่ใช้สื่อในการสอน ให้ทำการเขียนโปแกรมส่งทุกครั้ง ทำให้เครียด ครูเข้มงวดทำให้บรรยากาศในการเรียนเครียด ไม่อยากเรียน นักเรียนได้เสนอความต้องการที่จะเรียนวิชาคอมพิวเตอร์อย่างมีความสุข โดยให้ครูจัดหาสื่อการสอนที่หลากหลาย        เพื่ออธิบายเนื้อหาวิชาให้เข้าใจ และครูควรสร้างบรรยากาศใน การเรียนให้สนุกสนาน เช่น เล่นเกม และครูควรมีวิธีการสอนที่หลากหลายไม่น่าเบื่อ

              2.  การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลการประเมินประสิทธิภาพด้านกระบวนการ (E1) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.76 และผลการประเมินประสิทธิภาพด้านผลลัพธ์ (E2)       ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.54 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ 80/80 แสดงว่าชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6       นี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

              3.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า หลังเรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

         4.  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมสำหรับออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด



06608 โดย ชำนาญ 2019-08-09 14:47:11 v : 1158



ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ

 

เว็บทางการศึกษา
ตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ต
ข่าว The Nation
ข่าว CNN
ข่าว BangkokPost


มูลนิธิทางไกrลผ่านดาวเทียม
บริการการเรียนการสอนทางไกล ผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน
มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
ศูนย์กลางการศึกษาผ่านระบบเครือข่าย ครอบคลุมการศึกษาทุกระบบ
GURU Online
พัฒนาครูไทย มาตรฐานเท่าเทียม เรียนได้ทุกที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ก้าวย่างอย่างเข้าใจ
การจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสถานศึกษา
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
ส่งเสริมให้ข้าราชการออมเงินไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณอาย
KARN.TV
รวมความรู้ แบบฝึกหัด กิจกรรมเพิ่มทักษะ สำหรับอนุบาล - ประถมต้น
ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อบริการประชาชน
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้บริการทั้งการสอบถามข้อมูล การรับเรื่องร้องเรียนและการให้บริการในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาครัฐ ของทุกกระทรวง ทบวง กรม ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน
ห้องสมุด มสธ.
IGCSE ติว IELTS
TOEIC ติว GED
IELTS ติว TOEIC
TDC : Thai Digital Collection
สืบค้นงานวิจัย ฉบับเต็ม



 

เรียนพิเศษโคราช

พัฒนาระบบโดย
ธีรวัฒน์ ภู่เจริญ

จดโดเมน Host ออกแบบเว็บไซต์ Web Design

ครูอินเตอร์.คอม ดร.ศักดิ์ชัย ภู่เจริญ ภาวะผู้นำ บริหารการศึกษา